Arduno-UNO
Arduino UNO R3 บอร์ดทดลอง
Arduino เป็นไมโครคอนโทรลเลอร์ที่นำไปใช้อย่างแพร่หลายในปัจจุบัน สามารถเรียนรู้ได้รวดเร็ว จึงเหมาะสำหรับการนำไปสร้างโปรเจ็กต์ ต่างๆ ไมโครคอนโทรลเลอร์ Arduino ทุกรุ่น จะใช้ชิป AVR เป็นหลัก เพราะมีความทันสมัย ไมโครคอนโทรลเลอร์ Arduino สามารถโปรแกรมผ่านพอร์ตอนุกรมชนิต UART ได้ จึงทำให้เขียนโปรแกรมลงไปในชิป โดยการใช้การเชื่อม USB ติดต่อกับ UART เราสามารถใช้ โปรแกรม Arduino IDE ในการเขียนโปรแกรม และ Upload โปรแกรมลงBoard Arduinoได้ โดยการเชื่อมต่อผ่านสายUSB เท่านี้เราก็จะได้สนุกกับความสามารถของ Board Arduino กันแล้ว
รูปร่างบอร์ด
แสดงขาต่างของบอร์ด
Arduino Uno เป็นบอร์ดไมโครคอนโทรลเลอร์ที่ทำงานบนพื้นฐานของ ATmega 328 ซึ่งประกอบด้วย
- 14 digital input/output pins ( 6 pin สามารถใช้เป็น PWM output ได้ )
- 6 analog inputs
- 16 MHz ceramic resonator ( ใช้สำหรับกรองความถี่ให้กับบอร์ดไมโครคอนโทรลเลอร์ )
- USB connection
- ICSP header (In-Circuit Serial Programming)
- ปุ่มกด reset
- ช่องเสียบแหล่งจ่าย
Arduino Uno Revision 2 มี ATmega8U2 ทำให้อัพเดท firmware ผ่าน USB protocal ที่เรียกว่า DFU( Device Firmware Update ) ได้ง่ายขึ้น
Arduino Uno สามารถเชื่อมต่อโดย USB connector หรือ จาก power supply จากภายนอกได้ โดยแหล่งพลังงานจะถูกเลือกโดยอัตโนมัติ
การใช้งาน
Arduino UNO R3 จะมีขา Digital input/output อยู่ 14 ขา คือขา 0 ถึง 13 หมายความว่า สามารถกำหนดให้เป็นขาที่เป็น input หรือ output ก็ได้ ขา Digital ก็ยังรับค่าที่เป็น Analog ได้ ซึ่งจะสามารถรับค่า Analog ค่าตั้งแต่ 0–1023 จะไม่สามารถส่งค่า Analog ออกไปได้ ส่วนขา Analog input/uotput อยู่ 6 ขา คือขา A0 ถึง A5 การใช้งานคล้ายกับขา Digital จะมีข้อแตกต่างเล็กน้อย คือ สามารถส่งค่า Analog ออกไปได้
LED Builtin
Arduino จะมีขาที่เป็น LED Builtin อยู่ที่ ขา 13
Digital input/output
ขา Digital input/output อยู่ 14 ขา คือขา 0 ถึง 13
การเขียนโปรแกรม Arduino ด้วย Arduino IDE
หลังจากเราติดตั้งโปรแกรมเป็นที่เรียบร้อย ให้เราเปิดโปรแกรมขึ้นมา Arduino IDE จะ New Project ใหม่มาให้ พร้อมกับ Function เพื้นฐานที่ต้องมีในการเขียนโปรแกรม มา 2 Function ได้แก่ setup กับ loop ตามรูป
ทดสอบ โปรแกรม
int led = 13; // Arduino led build in
void setup(){
Serial.begin(9600);
Serial.println(“”);
Serial.println(“KPRAppCompile”);
Serial.println(“www.kprappcompile.com");
pinMode(led, OUTPUT);
}
void loop(){
digitalWrite(led, LOW);
delay(200);
digitalWrite(led, HIGH);
delay(200);
}
ถ้าไม่มีอะไรผิดพลาด เราจะเห็น ไฟ LED ที่ Board Arduino กระพริบ สะลับ ติด ดับ
สนใจบทความอื่นๆ คลิก